 โคมไฟ
 ประทีป
| สวัสดี ค่ะ รายการเล่าขานล้านนาวันนี้ขอเสนอเรื่องประวัติการจุดประทีปโคมไฟ ในเรื่องการจุดประทีปโคมไฟ ซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชนชาวล้านนาตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาเมื่อถึงงานประเพณี ลอยกระทงมักจะเห็นชาวบ้านนิยมนำประทีป หรือผางประทีป มาจุดเป็นพุทธบูชา
การจุดประทีปโคมไฟในปัจจุบันมักจะมีผู้เข้าใจว่า เป็นการจุดเพื่อความสวยงาม เพื่อกระประดับประดา แต่จะจุดเพิ่ออะไรนั้น ไปฟังประวัติความเป็นมาของการจุดประทีปโคมไฟจาก พระฐิติกร ฐิตวํโส พระนักศึกษาประธานชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนา จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ค่ะ
สมัย พระเจ้าวิปัสสี ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะมาเกิด มีอัครสาวกซึ่งเปิ้นเป็นคนเข้าสมาธิและเป็นผู้ก่อกำเนิดการจุดผางประทีป อัครสาวกของพระเจ้าวิปัสสีท่านนี้ เมื่อสำเร็จโพธิญาณก็นั่งสมาธิว่าจะโปรดสัตว์ที่ไหนดีก็เห็นชายยากจนที่ชอบ ทำบุญ
จึงเดินทางไปหาชายคนนี้แต่ไม่มีอะไรทำบุญจึงได้นำข้าวกับแคบหมูที่มีมันมาก ๆ ถวาย แต่เพื่อให้การทำบุญมีผลานิสงฆ์มากขึ้นจึงได้แนะนำให้ชายผู้ทำบุญนำแคบหมูไป เคี่ยวให้ได้น้ำมันมาก ๆ และทำไส้เพื่อให้เกิดดารจุดไฟจะได้แสงสว่างบูชาพระพุทธเจ้า ขณะที่กำลังจุดไฟเพื่อเป็นพุทธบูชานั้นแผ่นดินก็ไหว เจ้าเมืองได้รับความรู้สึกจากแผ่นดินไหวจึงเกิดการซักถามว่าเกิดอะไรขึ้น แผ่นดินจึงไหวเมื่อ ได้คำตอบว่ามีการจุดไฟเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาทำให้บุญมากจึงเกิดแผ่นดินไหว เจ้าเมืองอยากจะได้ทำบุญบ้างจึงได้จัดทานผางประทีปโดยการขุดหลุมแล้วนำ น้ำมันที่ได้จากชาวบ้านมารวมกันเพื่อจะได้จุดประทีปได้นาน ๆ ทั้งวันทั้งคืน ก็ไม่เกิดเหตุการณ์ใด ๆ ขึ้นมาเหมือนกับที่ชายยากจนกระทำ จึงได้ถามพระพุทธเจ้าว่าเพราะเหตุใดตนทำบุญด้วยการจุดผางประทีปแล้วแผ่นดิน ไม่ไหว ก็ได้คำตอบว่าของที่นำมาทำบุญไม่ได้มาด้วยจิตด้วยเป็นการได้มาจากชาวบ้าน จึงได้ถามไปว่าจะทำอย่างไรให้ได้บุญ พระพุทธเจ้าก็ตอบว่าการทำบุญนั้นถ้าทำรวมกันจึงจะได้บุญ ไม่ใช่เป็นการเกณฑ์มาจากคนอื่น ๆ หลังจากนั้นจึงมีการทานผางประทีปร่วมกันตลอดมา |
ที่มา
http://www.fm100cmu.com/fm100/100programs_detail.php?id_sub_group=57&id=2353