อุปกรณ์ส่องสว่างอีกชนิดหนึ่งที่ต้อง ใช้ประกอบคู่ไปกับหลอดไฟ คือ ดวงโคมไฟ อุปกรณ์ที่ใช้ในการยึดติด ป้องกัน และช่วยการกระจายแสงของหลอดไฟ ซึ่งแบ่งออกเป็น
1. ดวงโคมไฟเพดาน
เป็นดวงโคมไฟที่ติดเหนือศีรษะ บริเวณฝ้าเพดาน หรือห้องลงมาจากเพดาน เช่น โคมไฟห้อยเพดานหรือไฟช่อระย้า (Pendant) ที่มีรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ทั้งที่ทำจากแก้ว พลาสติก โลหะ หรือเซรามิค มีทั้งแบบโคมไฟธรรมดา (Shade) ราคาไม่แพงไปจนถึงโคมไหแชนเดอเลียร์ (Chandelier) ที่ประกอบไปด้วยหลอดไฟเล็ก ๆ มากมาย สวยงาม ให้แสงสว่างและความร้อนมาก กินไฟมาก ราคาแพง ไฟติดเพดาน (Ceiling-Mounted Light) มีทั้งแบบดวงโคมที่ยึดติดกับฝ้าเพดาน ประกบอไปด้วยที่ครอบ หรือโป๊ะทำจากแก้ว หรือพลาสติกคลุมหลอดไฟเพื่อช่วยในการกระจายแสง เช่น โคมไฟโป๊ะกลมสำหรับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือโคมไฟซาลาเปาสำหรับหลอดไส้ เป็นต้น และแบบที่ติดตั้งโดยเจาะฝ้าเพดานฝังซ่อนดวงโคมไว้ภายใน ที่เราเรียกกันว่า ไฟดาวน์ไลท์ (Down light) ซึ่งให้แสงสว่างได้ดี สามารถเลือกใช้ชนิดของหลอดไห ลักษณะของแสงที่ส่องลงมา และทิศทางการส่องของสำแสงได้หลายแบบเป็นได้ทั้งไฟพื้นฐานและไฟสร้างบรรยากาศ2. ดวงโคมไฟผนัง
เป็น ชนิดที่ใช้ยึดติดกับผนัง มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบเช่นกัน การกระจายแสงส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับลักษณะของโป๊ะ มีทั้งแบบให้แสงส่องออกมาตรง ๆ หรือแบบสะท้อนเข้าผนังเพื่อสร้างบรรยากาศให้กับห้อง เป็นต้น3. ดวงโคมไฟตั้งพื้น ตั้งโต๊ะ
เป็นดวงโคมไฟแบบลอยตัวที่ช่วยในการให้แสงสว่างตามจุดต่าง ๆ เป็นพิเศษ เช่น ในบริเวณที่นั่งอ่านหนังสือโต๊ะทำงาน หรือโต๊ะหัวเตียง และยังใช้เป็นของประกอบการตกแต่งในห้องชุดร่วมกับชุดเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น ชุดรับแขก ชุดทานอาหาร เป็นต้น มีรูปแบบและวัสดุให้เลือกมากมายหลายหลายราคาการตัดสินใจเลือกใช้ดวงโคมชนิดใด นอกเหนือไปจากรูปแบบการใช้งานและความสว่างของดวงโคมแล้ว สิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจให้มากคือ การซ่อมแซมและดูแลรักษา ไม่ว่าเรื่องการเปลี่ยนหลอดไหหรืออุปกรณ์เมื่อหมดอายุหรือชำรุดเสียหาย โคมไฟบางประเภทมีการออกแบบซ่อนอุปกรณ์ประกอบดวงโคมไว้อย่างมิดชิด การถอดเปลี่ยนทำได้ลำบาก หรือดวงโคมบางชนิด หาอะไหล่มาเปลี่ยนได้ยากโดยเฉพาะดวงโคมที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ รวมไปถึงการติดตั้งดวงโคมที่เน้นความสวยงามเป็นหลัก จนมองข้ามในเรื่องของการดูแลรักษาในภายหลัง ที่พบเห็ฯได้มากที่สุดคือ โคมไฟช่อระย้าที่ติดตั้งบริเวณโถงบันได หรือในจุดที่มีฝ้าเพดานสูงจนทำให้ไม่สามารถขึ้นไปดูแล เช็ดล้างหรือเปลี่ยนหลอดไฟได้
ที่สำคัญ อย่าลืมใช้ไฟฟ้าอย่างมีสติ เปิดใช้เท่าที่จำเป็น และปิดสวิตช์ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
ที่มา
ttp://www.xn--42c2cih1g5dqa6b.com/index.php/component/content/article/2-2010-01-17-17-11-41/4-typeoflamp