โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
ก) โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบตัวขวาง (Profile Mirror Louver Luminaire)
ข) โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบพาราโบลิกจตุรัส (Square Parabolic Louver Luminaire)
ค) โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบช่องถี่ (Mesh Louver Luminaire)
4.4.4.1 โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบตัวขวาง มีตัวขวาง 3 แบบด้วยกันคือ ตัวขวางริ้ว ตัวขวางเรียบ และ ตัวขวางพาราโบลิกคู่ ซึ่งเมื่อพิจารณาคุณภาพแสงตามแนวยาวของโคมดังกล่าวแบบตัวขวางพาราโบลิกคู่จะมีแสงบาดตาน้อยกว่าแบบตัวขวางริ้วหรือแบบตัวขวางเรียบ และแสงบาดตาของแบบตัวขวางริ้วใกล้เคียงกับแบบตัวขวางเรียบ ซึ่งโคมดังกล่าวทั้ง 3 แบบมีรายละเอียดดังนี้
ก) โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบตัวขวางริ้ว เป็นโคมไฟที่มีตะแกรงทำขึ้นจากแผ่นสะท้อนแสงอลูมิเนียมตามแนวยาวของหลอด โดยจะแบ่งช่องตามแนวยาวให้เท่ากับจำนวนหลอด ส่วนตามแนวขวางของหลอดจะมีตัวขวางแบ่งเป็นช่องๆซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งโดยประมาณเป็น 14 ช่องสำหรับโคมยาว 1.2 เมตร และ 7 ช่อง สำหรับโคมยาว 0.6 เมตร ซึ่งจำนวนช่องนี้ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบและผู้ผลิตแต่ละราย ซึ่งตัวขวางของโคมทำหน้าที่ หักเหแสงและจัดมุมภาพของหลอดเพื่อลดแสงบาดตา
รูปที่ 4.9 แสดงตัวอย่างโคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบตัวขวางริ้ว
โคมไฟชนิดนี้โดยทั่วไปนิยมใช้ในพื้นที่สำนักงานที่มีการใช้จอคอมพิวเตอร์น้อย ให้ดูชนิดของโคมที่ใช้กับจอคอมพิวเตอร์ในภาคผนวก ง.
โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบตัวขวางริ้วมีคุณสมบัติและการใช้งานที่ควรพิจารณาดังนี้
ก) เป็นโคมไฟที่มีประสิทธิภาพสูง 60-80% (ขึ้นอยู่กับการออกแบบและวัสดุที่ใช้ในการผลิต)
ข) โดยทั่วไปค่า S/H สูง จึงสามารถทำให้ใช้จำนวนโคมน้อยสำหรับความส่องสว่างที่สม่ำเสมอโดยทั่วพื้นที่
ค) เหมาะสมกับการใช้ในพื้นที่สำนักงานและพื้นที่ทำงานทั่วไป
ง) ห้องทำงานที่มีจอคอมพิวเตอร์ หรือ ห้องควบคุมที่มีจอมอนิเตอร์ ให้ระวังการใช้โคม ประเภทนี้เพราะแสงบาดตาจากโคมอาจจะปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ จอ
จ)มอนิเตอร์ได้ (ให้ดูในภาคผนวก ง.)
ฉ) ถ้าใช้วัสดุในการผลิตแผ่นสะท้อนแสงที่มีคุณภาพสูงจะสามารถลดแสงสีรุ้งที่เกิดจากหลอดฟลูออเรสเซนต์
ข) โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบตัวขวางเรียบ เป็นโคมไฟที่มีคุณสมบัติเหมือนโคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบตัวขวางริ้ว
ค) โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบตัวขวางพาราโบลิกคู่ เป็นโคมไฟที่มีตัวสะท้อนแสงทั้งตามแนวยาวและแนวขวางกับหลอดขึ้นเป็นรูปโค้งพาราโบลิก (Parabolic curve) โดยจะแบ่งช่องตามแนวยาวให้เท่ากับจำนวนหลอด ส่วนตามแนวขวางของหลอดจะมีตัวขวางแบ่งเป็นช่องๆซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งโดยประมาณเป็น 14 ช่องสำหรับโคมยาว 1.2 เมตร และ 7 ช่อง สำหรับโคมยาว 0.6 เมตร ซึ่งจำนวนช่องนี้ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบและผู้ผลิตแต่ละราย โคมไฟนี้โดยส่วนมากมีแสงบาดตาน้อยกว่าแบบตัวขวางริ้วจึงเหมาะสำหรับการใช้ งานในพื้นที่สำนักงานที่มีจอคอมพิวเตอร์อยู่เกือบทั่วพื้นที่ที่ต้องการแสง บาดตาน้อย เช่น ห้องประชุม ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
รูปที่ 4.10 แสดงตัวอย่างโคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบตัวขวางแบบพาราโบลิกคู่
โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบตัวขวางพาราโบลิกคู่มีคุณสมบัติและการใช้งานที่ควรพิจารณาดังนี้
ก) เป็นโคมไฟที่มีประสิทธิภาพสูง 60-80% (ขึ้นอยู่กับการออกแบบและวัสดุที่ใช้ในการผลิต)
ข) โดยทั่วไปค่า S/H สูงพอประมาณ จึงสามารถทำให้ใช้จำนวนโคมน้อยสำหรับความส่องสว่างที่สม่ำเสมอโดยทั่วพื้นที่
ค) แสงบาดตาจากโคมไฟน้อยเหมาะกับการใช้ในพื้นที่สำนักงานที่มีจอคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่ทั่วพื้นที่
ง) ถ้าใช้วัสดุในการผลิตแผ่นสะท้อนแสงที่มีคุณภาพสูงจะสามารถลดแสงสีรุ้งที่เกิดจากหลอดฟลูออเรสเซนต์
4.4.4.2 โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบพาราโบลิกจตุรัส เป็นโคมตะแกรงที่ประกอบจากแผ่นสะท้อนแสงทั้งตามแนวหลอดและแนวขวางหลอดเป็นส่วนโค้ง (Parabolic) ประกอบการขึ้นเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อลดแสงบาดตาจากหลอด วัสดุที่ใช้ส่วนมากจะเป็นแบบเงา (Specular surface) หรือ แบบกระจายแสง (Diffuser surface) เป็นโคมไฟที่นิยมใช้ในพื้นที่ที่ต้องการแสงนุ่มและแสงบาดตาน้อย เช่น ในห้องประชุมระดับผู้บริหาร ห้องผู้บริหาร ห้องประมวลผลข้อมูล ห้องแสดงสินค้า
รูปที่ 4.11 แสดงตัวอย่างโคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบพาราโบลิกจตุรัส
โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบพาราโบลิกจตุรัสมีคุณสมบัติและการใช้งานที่ควรพิจารณาดังนี้
ก) เป็นโคมไฟที่ให้แสงนุ่ม และแสงบาดตาน้อย
ข) พื้นที่ระดับเพดานหรือผนังที่ใกล้เพดานจะมืดเพราะ มุมตัดแสง ของโคมไฟแคบจึงควรระวังในการวางตำแหน่งโคมไฟ
ค) โคมไฟชนิดนี้ให้ประสิทธิภาพแสงต่ำกว่าแบบตัวขวางน้อย แต่คุณภาพแสงดีกว่า
4.4.4.3 โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบช่องถี่ เป็นโคมฟลูออเรสเซนต์ที่มีตะแกรงถี่มาก อยู่ในเกณฑ์ประมาณ หนึ่งนิ้วหรือน้อยกว่า ตะแกรงดังกล่าวอาจทำจากวัสดุที่เป็นอลูมิเนียม หรือวัสดุอย่างอื่น ซึ่งมีทั้งแบบตะแกรงขาวธรรมดา หรือเป็นสีเงินเพื่อความสวยงาม ลายตะแกรงอาจเป็นสีเหลี่ยม หรือวงกลม หรือหกเหลี่ยม หรือลายสวยงามอย่างอื่น โคมฟลูออเรสเซนต์แบบนี้ไม่ประหยัดพลังงาน แต่เน้นทางด้านความสวยงามหรือไม่ก็เน้นทางด้านคุณภาพแสง เพราะให้แสงบาดตาน้อย ใช้ในพื้นที่จำเป็นที่ไม่ต้องการแสงบาดตา หรือบริเวณที่ต้องการความสวยงาม เช่น เคาน์เตอร์ต้อนรับ หรือประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
|
โคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงแบบช่องถี่มีคุณสมบัติและการใช้งานที่ควรพิจารณาดังนี้
ก) เป็นโคมไฟที่มีประสิทธิภาพไม่สูงเมื่อเทียบกับโคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงอย่างอื่นโดยทั่วไป ค่าระยะห่างระหว่างโคมไฟ ต่อ ความสูงเหนือระนาบทำงาน (S/H) มีค่าต่ำจึงใช้จำนวนโคมมากสำหรับความสว่างที่สม่ำเสมอโดยทั่วพื้นที่
ข) ไม่เหมาะกับพื้นที่เพดานต่ำเพราะเมื่อใช้โคมไฟชนิดนี้จะทำให้เพดานมืด
ค) โคมไฟชนิดนี้ให้แสงบาดตาน้อยเหมาะใช้กับพื้นที่ที่มีจอคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ประหยัดพลังงานและบำรุงรักษายาก
4.5 โคมไฟโรงงานหลอดปล่อยประจุความดันไอสูง
โคมไฟประเภทนี้โดยส่วนมากจะมีตัวสะท้อนแสงเป็นแบบอลูมิเนียม (Aluminium Reflector) หรือ ตัวหักเหแสงพลาสติก (Plastic Reflactor) อาจจะมีเลนส์ ปิดหน้าหลอดก็ได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม ความสูง การกระจายแสงของโคมไฟที่ต้องการ ซึ่งการกระจายแสงของโคมไฟมี 2 ลักษณะดังนี้
4.5.1 โคมแบบลำแสงกว้าง (Wide Beam) เหมาะสำหรับการติดตั้งที่ความสูงระดับ 4-7 เมตร
4.5.2 โคมแบบลำแสงแคบ (Narrow Beam) เหมาะสำหรับการติดตั้งที่ความสูงประมาณ 6 เมตรขึ้นไป
นอกจากนี้โคมดังกล่าวจะรูปแบบของแสงเป็นรูปต่างๆ เช่น วงกลม หรือ สี่เหลี่ยม เป็นต้น ซึ่งลักษณะรูปแบบของโคมจะเป็นดังรูปที่ 4.13
ก) แสงสว่างไม่สม่ำเสมอ ข) แสงสว่างสม่ำเสมอ ค) แสงสว่างสม่ำเสมอมาก
รูปที่ 4.13 แสดงรูปแบบการกระจายแสงของโคมไฟโรงงานหลอดปล่อยประจุความดันไอสูง
จากรูปที่ 4.13 โคมแบบการกระจายแสงวงกลมเหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ที่ไม่กว้างมาก หรือ พื้นที่ที่ไม่พิถีพิถันกับความสม่ำเสมอของแสง
ส่วนโคมแบบกระจายแสงสี่เหลี่ยมเหมาะสำหรับใช้พื้นที่ที่กว้างและต้องการความสม่ำเสมอของแสงโดยทั่วพื้นที่ ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดโคมไฟและจำนวนหลอดได้ดีกว่าการเลือกโคมไฟแบบการกระจายแสงแบบวงกลม
การ เลือกใช้กำลังไฟฟ้าของหลอดปล่อยประจุความดันไอสูงนั้นจะต้องคำนึงถึงความสูง ในการติดตั้งตารางข้างล่างนี้เป็นตารางที่แนะนำให้ใช้เท่านั้น เพื่อความละเอียดและถูกต้องควรจะเลือกและคำนวณจากข้อมูลและกราฟของโคมไฟแต่ ละชนิด
ตารางที่ 4.1 กำลังไฟฟ้าของหลอดปล่อยประจุความดันไอสูงกับความสูงต่ำสุดสำหรับการติดตั้ง
ชนิดและกำลังไฟ้าของหลอด | ความสูงต่ำที่สุดสำหรับการติดตั้ง (เมตร) |
หลอดเมทัลฮาไลด์ 250 วัตต์ หลอดเมทัลฮาไลด์ 400 วัตต์ หลอดเมทัลฮาไลด์ 1000 วัตต์ หลอดไอปรอท 250 วัตต์ หลอดไอปรอท 400 วัตต์ หลอดไอปรอท 1000 วัตต์ หลอดโซเดียมความดันสูง 250 วัตต์ หลอดโซเดียมความดันสูง 400 วัตต์ หลอดโซเดียมความดันสูง 1000 วัตต์ | 4 5 6 4 5 6 4 6 8 |
รูปที่ 4.12 แสดงตัวอย่างโคมไฟโรงงานหลอดปล่อยประจุความดันไอสูง
โคมไฟโรงงานหลอดปล่อยประจุความดันไอสูงมีคุณสมบัติและการใช้งานที่ควรพิจารณาดังนี้
ก) โคมไฟชนิดนี้มีน้ำหนักมาก การติดตั้งต้องให้มั่นคงแข็งแรงเหมาะสำหรับการติดตั้งในบริเวณเพดานสูง แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์
ข) โคมต้องมีครอบแก้วปิดในกรณีที่ใช้ในพื้นที่ที่เกิดอันตรายมากเมื่อหลอดแตกที่ผู้ผลิตแนะนำ
ค) การใช้วัตต์ต่างกันในพื้นที่เดียวกันให้ระวังสีของหลอดที่แตกต่างกัน
ง) การเลือกใช้หลอด ชุดควบคุมให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต เพราะไม่ฉะนั้นอาจจะทำให้อายุการใช้งานสั้น แสงไม่ได้ตามที่ต้องการ สีเพี้ยน และไม่ประหยัดพลังงาน
4.6 โคมไฟสาด
โคมไฟสาดโดยทั่วไปใช้สำหรับงานส่องเน้นสถาปัตยกรรมตัวอาคาร หรือเพื่อการส่องสว่างสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สนามกีฬา ลานจอดรถ สถานที่ก่อสร้าง บริเวณขนถ่ายสินค้า เป็นต้น
4.6.1 คุณลักษณะทางกลศาสตร์ เนื่องจากโคมไฟสาดติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร ดังนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
4.6.1.1 ความสามารถในการป้องกันน้ำและฝุ่นผง อย่างน้อยควรมีค่า IP54 (ดูตารางที่ 1.2)
4.6.1.2 วัสดุที่ใช้ทำตัวโคม ต้องเป็นวัสดุที่ทนการสึกกร่อนได้ดี มีความแข็งแรงและทนทานต่อการกระแทก โดยทั่วไปโครงสร้างของโคมทำจากอะลูมิเนียมหล่อ ขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์ (Die-Cast Aluminium)
4.6.1.3 กระจกที่ปิดหน้าโคมไฟสาด ต้องเป็นกระจกนิรภัยทนความร้อนที่เหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคาร
4.6.1.4 น้ำหนักของโคมกับสถานที่ติดตั้ง โคมไฟสาดที่ติดตั้งในที่สูง-โล่ง ควรคำนึงถึงแรงปะทะของลม
4.6.2 คุณลักษณะทางแสง
4.6.2.1 การกระจายแสงของโคม แบ่งประเภทของโคมไฟสาดได้ ตามกราฟการกระจายแสงของโคมตามที่ CIE 43 (TC-2.4) 1979 กำหนดคือ
ก) การกระจายแสงสมมาตรสมบูรณ์ (Rotationally Symmetric distribution)
โคมที่มีการกระจายแแสงสมมาตรสมบูรณ์นี้มีโครงสร้างง่ายเหมาะสำหรับงานไฟสาดทั่วไปที่ไม่ได้เน้นความสม่ำเสมอของแสงมาก
ข) การกระจายแสงสมมาตร 2 ระนาบ (Distribution symmetrical about two planes)
โคมที่มีการกระจายแสงสมมาตร 2 ระนาบ เหมาะกับงานที่ต้องการความส่องสว่างสม่ำเสมอดีกว่าแบบ ก)
ค) การกระจายแสงสมมาตร 1 ระนาบ (Distribution symmetrical about one plane)
โคมที่มีการกระจายสมมาตร 1 ระนาบ เหมาะกับงานที่ต้องการความส่องสว่างสม่ำเสมอและมีการสาดไประยะไกล
ง) การกระจายแสงไม่สมมาตร (Asymmetric Distribution)
การเลือกใช้โคมที่มีการกระจายแสงไม่สมมาตรขึ้นอยู่กับลักษณะงานซึ่งกราฟกระจายแสงของโคมอาจมีรูปร่างต่างกันไป
4.6.2.2 มุมลำแสง แบ่งประเภทของโคมไฟสาดได้ ตามมุมลำแสงตามที่ NEMA กำหนด คือ
ก) มุมกว้าง เหมาะสำหรับสาดอาคารที่ไม่สูง มีพื้นที่ด้านข้างมากๆ มีระยะที่สาดไม่ไกลนัก
ข) มุมปานกลาง เหมาะสำหรับระยะสาดปานกลาง
ค) มุมแคบ เหมาะสำหรับสาดอาคารสูง มีระยะที่สาดไกล
รูปที่ 4.13 แสดงการแบ่งมุมลำแสงของโคมไฟสาดตาม NEMA Field Angle
ตารางที่ 4.2 มุมลำแสงสัมพันธ์กับระยะที่สาด
ชนิดลำแสง | ย่านมุมลำแสง | ระยะที่สาด |
1 2 3 4 5 6 7 | 10-18 18-29 29-48 48-70 70-100 100-130 130 ขึ้นไป | 70 เมตร หรือมากกว่า 60-70 เมตร 53-60 เมตร 44-53 เมตร 30-44 เมตร 24-30 เมตร ต่ำกว่า 24 เมตร |
4.6.3 รูปทรงของโคมไฟสาด ที่พบเห็นกันโดยทั่วไปจะมีรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือทรงกลม
4.6.3.1 โคมไฟสาดทรงสี่เหลี่ยม มักมีตัวถังห่อหุ้มที่มีความแข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทกได้ดีกว่าแบบทรงกลม จึงเหมาะกับการติดตั้งในที่ที่ผู้คนสามารถผ่านไปมาและอาจจะทำให้ตัวโคมเสียหายได้ โดยทั่วไปโคมรูปทรงนี้จะมีน้ำหนักมากและมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ไม่เหมาะที่ติดตั้งในที่สูง-โล่ง เพราะจะได้รับแรงปะทะจากลมสูงมาก
4.6.3.2 โคมไฟสาดทรงกลม มักมีตัวถังห่อหุ้มเฉพาะอุปกรณ์ควบคุมและขั้วหลอดเท่านั้น แต่ในส่วนของตัวสะท้อนแสงจะไม่มีตัวถังห่อหุ้ม โดยทั่วไปจะมีเลนส์ปิดข้างหน้าเพื่อป้องกันหลอดอีกชั้นหนึ่ง โคมไฟสาดทรงกลมมีรูปร่างกะทัดรัดและมีน้ำหนักไม่มาก เหมาะสำหรับติดตั้งในที่สูง-โล่ง เช่น บนเสาสูงสำหรับสนามกีฬา
4.6.4 โคมและหลอดกับการเลือกใช้
โคมไฟสาดอาจใช้หลอดทังสเตนฮาโลเจน หรือหลอดปล่อยประจุความดันไอสูงก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน การเลือกใช้โคมและหลอดให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานจะช่วยประหยัดพลังงานได้
ก) การส่องป้ายโฆษณา หรือสถานที่ก่อสร้าง ที่ใช้โคมไฟสาดหลอดทังสเตนฮาโลเจน เนื่องจากโคมมีราคาถูก แต่มีปัญหาเรื่องอายุการใช้งานของหลอดสั้นและต้องใช้พลังงานไฟฟ้าสูง ไม่ประหยัดพลังงาน (งานที่ต้องการให้เปิดไฟแสงสว่างได้ทันที ต้องใช้หลอดและโคมประเภทนี้ ถึงแม้จะไม่ประหยัดพลังงานก็ตาม)
ข) การส่องเน้นสถาปัตยกรรมตัวอาคาร ต้องพิจารณาความส่องสว่างรอบข้างเพื่อเลือกขนาดวัตต์และจำนวนของโคม การใช้โคมไฟสาดหลอดปล่อยประจุความดันไอสูง ต้องเลื่อกสีของแสงที่ได้จากหลอดให้เหมาะสมกับสีของสถาปัตยกรรมที่ต้องการส่องเน้น เช่น หลอดเมทัลฮาไลด์ ให้แสงสีขาว หลอดโซเดียมความดันสูง ให้แสงสีเหลืองทอง
ค) การส่องสว่างสนามกีฬาที่ต้องการความส่องสว่างและความถูกต้องของสีสูงเพื่อการถ่ายทอดโทรทัศน์ ควรใช้หลอดเมทัลฮาไลด์
ง) การส่องสว่างสนาม ลานจอดรถ บริเวณขนถ่ายสินค้า ที่ไม่ต้องการความถูกต้องของสีมาก แนะนำให้ใช้หลอดโซเดียมความดันสูง
4.6.5 ข้อควรระวัง
ก) เนื่องจากหลอดที่ใช้กับโคมไฟสาดที่ให้ความเข้มแสงสูงมากอาจเป็นอันตรายต่อสายตาได้ จึงต้องเลือกตำแหน่งในการติดตั้งให้เหมาะสม หรือเลือกใช้โคมไฟสาดที่ออกแบบให้โคมสามารถบังแสง (Shield Type) เพื่อ ไม่ให้มองเห็นแสงหรือภาพของหลอดปรากฏโดยตรงในมุมที่ไม่พึงประสงค์ และช่วยลดแสงบาดตาที่เกิดจากหลอดและตัวสะท้อนแสงให้มีน้อยที่สุดหรืออาจมี ตัวกรองแสงปิดที่หน้าโคมซึ่งอาจเป็นเลนส์หรือกระจกที่ป้องกันรังสีอัลตรา ไวโอเลต
ข) โคมที่ใช้หลอดเมทัลฮาไลด์ที่มีขนาดวัตต์สูง ตัวโคมควรมีสวิตช์ตัดตอน (Disconnecting Switch) ในการซ่อม เพื่อให้ปลอดภัยและป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต
ที่มา
http://www.tieathai.org/know/coom/ch%204.htm